วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2550

"ไมตรีอักษร"

กล่าวถึง "ไมตรีอักษร"
PROJECT นี้เป็นความคิดริเริ่มของ "หนู ผานิตา หลวงมูล" ทางอาจารย์ผู้สอนได้ให้ความช่วยเหลือให้มีผู้ช่วยในการพัฒนางานของอีกคน ซึ่งผมก็ได้มาช่วยใน PROJECT นี้ของ "หนู" ถึงแม้ว่าจะช่วยให้งานชิ้นนี้เสร็จอย่างไม่สมบูรณ์แบบ แต่ก็ได้เรียนรู้หลักการทำงานของ "หนู" ได้ไม่มากก็น้อย จากประสบการณ์นี้ก็จะได้นำไปพิจารณา ปรับปรุงแก้ไขส่วนที่ขาดตกบกพร่องต่อไป ให้มีความใส่ใจ ละเอียด รอบคอบในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งในงานชิ้นนี้ที่ได้รับมอบหมายก็ได้ทำอย่างเต็มที่ ตามความสามารถของตนเอง จึงได้รู้ว่าตัวเราเองก็ยังต้องพัฒนาอะไรที่ทำไม่ได้อีกมาก เพื่อจะได้ไม่ต้องเป็นภาระของคนอื่นในภายภาคหน้าอีกด้วย
สุดท้ายนี้ก็ขอขอบคุณอาจารย์ผู้สอนทั้งสองท่านที่ได้ให้ความอนุเคราะห์ที่ให้คำแนะนำที่ดี เป็นห่วงเป็นใยต่อนักศึกษาทุกคน และต่อไปในภายภาคหน้าจะพัฒนาการทำงานและความสามารถของตนเองให้มากยิ่งขึ้นไปกว่าเดิมครับ

การนำเสนองาน

ขั้นตอนการนำไปใช้ในการออกแบบ
เป็นการนำเสนองานเพื่อนำไปใช้ในการออกแบบ เป็นการนำเสนอโดยการเชื่อมตัวอักษรจากจุดกำเนิดว่า ฅ.คน คือจุดเริ่มต้นของทุกสิ่ง



การสรุปงานใช้ไพ่เป็นตัวนำเสนองาน โดยการจับคู่ของอักษรเพื่อให้เกิดความเข้าใจในรูปร่างอักษรได้ง่ายยิ่งขึ้น

PROJECT "ไมตรีอักษร" TIMELINE

TIME LINE

เป็น Time Line ในการพัฒนางานมาตั้งแต่เริ่มต้นของ PROJECT "ไมตรีอักษร"

สรูป "ไมตรีอักษร"

ไมตรีอักษร
ได้ชุดตัวอักษร "ไมตรีอักษร" ครบทั้งหมดแล้ว ซึ่งความสมบูรณ์ของตัวอักษรทั้งหมดนั้น ยังไม่สมบูรณ์ที่สุด แต่ก็พอดูเป็นรูปเป็นร่างได้ว่า เป็นตัวอักษรแล้วนั้น รูปแบบตัวอักษรทั้งหมดก็ได้ออกมาเป็นแบบนี้
หลังจากได้ตัวอักษรที่มีการออกแบบมาแล้วนั้น ชุดนี้ก็ได้นำมาทดลองต่อไป เพื่อเป็นการหาตัวเชื่อมของตัวอักษรเพื่ออธิบายงานให้มีความเข้าใจมากขึ้น

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2550

"ไมตรีอักษร"

ไมตรีอักษร เป็นชื่อของโครงการนี้

"ไมตรีอักษร" 2

อักษรชุดนี้เป็นอักษรปกติ ที่ หนู ผานิตา ได้ออกแบบมาเพื่อใช้ในการทำโครงการ "ไมตรีอักษร" เพื่อที่จะนำโครงสร้างมาใช้ออกแบบโครงการ
ส่วนอักษรชุดนี้ ได้มีการออกแบบตัวอักษรแล้ว ซึ่งเป็นชุดอักษรที่มีชื่อว่า "ไมตรีอักษร" เป็นการเอาโครงสร้างตัวอักษรแต่ละคู่มาสลับจับคู่กัน เพื่อออกแบบตัวอักษรชุดใหม่

และส่วนชุดนี้จะเป็นการเรียบเรียงตัวอักษรตามที่ หนู ผานิตา ได้ตั้งระบบการเรียงตัวอักษรใหม่

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2550

การทดลองเป็นภาพเคลื่อนไหว

ช กับ ญ

เป็นการทดลองภาพเคลื่อนไหว ของตัวอักษรสองตัวที่จะมาสลับบางส่วนกัน ระหว่างตัวอักษร ช กับ ญ

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ผลการทดลอง




การทดลอง ก


การทดลอง ข



รวมการทดลองของตัวอักษร

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2550

การดูผลที่สมบูรณ์ เพื่อแก้ไขจุดบกพร่อง


จากการจับคู่อักษรที่มีการวางไว้ในลักษณะการพึ่งพาความหมายซึ่งกันและกัน ของ ผานิตา ก็ได้รับมอบหมายงานต่อว่างานเสก็ตที่ทำไว้ ผมจะทดลองทำให้สมบูรณ์มากขึ้น โดยงานที่ทำให้เรียบร้อยขึ้นจะได้ดูผลอีกทีว่าเราจะแก้ไขตรงไหนได้อีก เพื่อเป็นการสำรวจในลักษณะผลว่าเรียบร้อยหรือสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด


วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2550

การวิเคราะห์ข้อมูลตัวอักษร ครั้งที่ 1

รูปแบบตัวอักษรภาษาไทย มีรูปแบบตัวอักษรที่ซับซ้อนค่อนข้างน้อยกว่าตัวอักษรในเอเชียในบางประเทศ ซึ่งตัวอักษรภาษาไทยนั้น มีรูปแบบที่มีการขมวดหัวตัวอักษรให้มีความต่างกันในแต่ละตัว ตัวอักษรภาษาไทยมีทั้งขมวดหัวให้กลมและไม่มีขมวด มีความต่างกันอย่างไร ลองมาวิเคราะห์กัน ตามความเข้าใจ

ตัวอักษรภาษาไทยที่มีการขมวดหัว
ตัวอักษรภาษาไทยที่มีการขมวดหัวนั้น เป็นตัวอักษรที่มีความเข้าใจง่าย อ่านคล่อง เหมาะแก่การใช้เขียนเป็นเนื้อเรื่อง เนื้อหา ไว้สำหรับอ่าน เพราะรูปแบบตัวอักษรที่เข้าใจง่าย อ่านแล้วสบายตา ดังนั้นตัวอักษรรูปแบบนี้มักจะอยู่ในหนังสือที่เป็นทางการ ราชการ หรือใช้เขียนในหนังสือนวนิยายต่าง ๆ เพื่อให้อ่านได้คล่อง

ตัวอักษรภาษาไทยที่ไม่มีการขมวดหัว
ตัวอักษรภาษาไทยที่ไม่มีการขมวดหัว เป็นตัวอักษรอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ออกแบบมาเพื่อให้มีความน่าสนใจ น่าค้นหา ส่วนใหญ่จึงเหมาะกับการนำไปใช้เป็นหัวหนังสือ หัวเรื่อง หัวข้อความต่าง ๆ เพื่อใหมีความน่าสนใจ ให้ผู้อ่านกระตือรือร้นที่จะอ่านเรื่องราวต่อไป

เมื่อพูดถึงเรื่องของขนาดและรูปแบบของตัวอักษรทั้ง 2 รูปแบบแล้ว จะมีความแตกต่าง ดังนี้
ตัวอักษรภาษาไทยที่ไม่มีการขมวดหัวนั้น เหมาะแก่การนำไปใช้ให้เป็นหัวหนังสือ หัวเรื่องราวต่าง ๆ เพื่อให้มีความน่าสนใจ ดังนั้นจำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ขึ้นมา เพื่อให้สะดุดตา ดึงดูดความสนใจ ให้มีความอยากอ่านหนังสือเล่นนั้น หากตัวอักษรที่ไม่มีการขมวดหัว มีขนาดเล็กเกินไปหรือ เอาไปใช้ในการเขียนเป็นตัวอักษรสำหรับอ่าน มีข้อความเยอะ ๆ อาจจะทำให้ การอ่านจะอ่านค่อนข้างยาก เพราะขนาดเล็กอาจจะมองตัวอักษรที่มีความคล้ายคลึงกันผิดเพี้ยนไป จึงทำให้การอ่านลำบาก อย่างเช่น ข กับ บ หรือ ค กับ ด เป็นต้น

(เนื่องจาก Blog มีปัญหา ไม่สามารถลงรูปได้ จะนำรูปลงในภายหลัง)