วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ผลการทดลอง




การทดลอง ก


การทดลอง ข



รวมการทดลองของตัวอักษร

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2550

การดูผลที่สมบูรณ์ เพื่อแก้ไขจุดบกพร่อง


จากการจับคู่อักษรที่มีการวางไว้ในลักษณะการพึ่งพาความหมายซึ่งกันและกัน ของ ผานิตา ก็ได้รับมอบหมายงานต่อว่างานเสก็ตที่ทำไว้ ผมจะทดลองทำให้สมบูรณ์มากขึ้น โดยงานที่ทำให้เรียบร้อยขึ้นจะได้ดูผลอีกทีว่าเราจะแก้ไขตรงไหนได้อีก เพื่อเป็นการสำรวจในลักษณะผลว่าเรียบร้อยหรือสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด


วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2550

การวิเคราะห์ข้อมูลตัวอักษร ครั้งที่ 1

รูปแบบตัวอักษรภาษาไทย มีรูปแบบตัวอักษรที่ซับซ้อนค่อนข้างน้อยกว่าตัวอักษรในเอเชียในบางประเทศ ซึ่งตัวอักษรภาษาไทยนั้น มีรูปแบบที่มีการขมวดหัวตัวอักษรให้มีความต่างกันในแต่ละตัว ตัวอักษรภาษาไทยมีทั้งขมวดหัวให้กลมและไม่มีขมวด มีความต่างกันอย่างไร ลองมาวิเคราะห์กัน ตามความเข้าใจ

ตัวอักษรภาษาไทยที่มีการขมวดหัว
ตัวอักษรภาษาไทยที่มีการขมวดหัวนั้น เป็นตัวอักษรที่มีความเข้าใจง่าย อ่านคล่อง เหมาะแก่การใช้เขียนเป็นเนื้อเรื่อง เนื้อหา ไว้สำหรับอ่าน เพราะรูปแบบตัวอักษรที่เข้าใจง่าย อ่านแล้วสบายตา ดังนั้นตัวอักษรรูปแบบนี้มักจะอยู่ในหนังสือที่เป็นทางการ ราชการ หรือใช้เขียนในหนังสือนวนิยายต่าง ๆ เพื่อให้อ่านได้คล่อง

ตัวอักษรภาษาไทยที่ไม่มีการขมวดหัว
ตัวอักษรภาษาไทยที่ไม่มีการขมวดหัว เป็นตัวอักษรอีกรูปแบบหนึ่ง ที่ออกแบบมาเพื่อให้มีความน่าสนใจ น่าค้นหา ส่วนใหญ่จึงเหมาะกับการนำไปใช้เป็นหัวหนังสือ หัวเรื่อง หัวข้อความต่าง ๆ เพื่อใหมีความน่าสนใจ ให้ผู้อ่านกระตือรือร้นที่จะอ่านเรื่องราวต่อไป

เมื่อพูดถึงเรื่องของขนาดและรูปแบบของตัวอักษรทั้ง 2 รูปแบบแล้ว จะมีความแตกต่าง ดังนี้
ตัวอักษรภาษาไทยที่ไม่มีการขมวดหัวนั้น เหมาะแก่การนำไปใช้ให้เป็นหัวหนังสือ หัวเรื่องราวต่าง ๆ เพื่อให้มีความน่าสนใจ ดังนั้นจำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ขึ้นมา เพื่อให้สะดุดตา ดึงดูดความสนใจ ให้มีความอยากอ่านหนังสือเล่นนั้น หากตัวอักษรที่ไม่มีการขมวดหัว มีขนาดเล็กเกินไปหรือ เอาไปใช้ในการเขียนเป็นตัวอักษรสำหรับอ่าน มีข้อความเยอะ ๆ อาจจะทำให้ การอ่านจะอ่านค่อนข้างยาก เพราะขนาดเล็กอาจจะมองตัวอักษรที่มีความคล้ายคลึงกันผิดเพี้ยนไป จึงทำให้การอ่านลำบาก อย่างเช่น ข กับ บ หรือ ค กับ ด เป็นต้น

(เนื่องจาก Blog มีปัญหา ไม่สามารถลงรูปได้ จะนำรูปลงในภายหลัง)

วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2550

การทดลอง (การสลับ) แบบเคลื่อนไหว ครั้งที่ 1

เลือกที่จะเป็นผู้ช่วย
(ซึ่งได้รับให้ทำงานแบบภาพเคลื่อนไหวของการสลับตั้งแต่ต้น)

ก-ฮ
สิ่งที่เกิดจากการผสมกันของตัวอักษรภาษาไทย 44 ตัว เกิดจาก เกิดจากการนำเสนอมุมมองโครงสร้างก่อนการสลับที่กันของ ก-ฮ จากการจับคู่ที่ได้ทดลอง โดยเป็นมุมมองที่จะเสนอถึงความสนุกสนาน ของตัวอักษรว่า ถ้าลองแทนให้เป็นสิ่งมีชีวิตจะเป็นอย่างไร




ขั้นตอนแรกก็เป็นการเรียกตัวอักษรทั้งหมด 44 ตัว จาก ก-ฮ แล้วทำการแทนให้ตัวอักษรทั้ง 44 ตัว มีชีวิต ซึ่งเมื่อมีชีวิตแล้ว มันจึงต้องการที่จะไปอยู่กับพักพวกของมัน โดยการโยงเครือข่ายของความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน โดยแยกจาก ค.คน (คีบอร์ดไม่มีตัวค.คน) แล้วแยกเป็น ชายกับหญิง แล้วก็โยงความสัมพันธ์กันไปเรื่อย ๆ ตามตาราง